วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ




รัฐเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบสุดท้าย



มชัดลึก : รัฐบาลเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบ สุดท้าย แต่ม ีข้อแม้ต้องรับคนไทยเข้าทำงานก่อน ใจดีเตรียมตั้งกองทุน ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว อ้างเพื่อความเชื่อมั่นประเทศ


(2มิ.ย.) นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนี้เข้าเมือง (กบร.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ และคิดว่าจะเป็นรอบสุดท้ายสำหรับสัญชาติลาว กัมพูชา และพม่า โดยแบ่งเป็นแรงงานที่เคยขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้ว 4-5 แสนคน และแรงงานใต้ดินที่ยังไม่เคยจดทะเบียนคาดว่าจะมีประมาณ 3-4 แสนคน โดยขั้นตอนตอนหลังจากนี้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ กระทรวงมหาดไทยต้องออกประกาศผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในประเทศได้จนถึง วันที่ 28 ก.พ. 53 หลังจากนั้นนายจ้างจะต้องนำแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนกับกรมการปกครอง เพื่อให้กรมการปกครองจัดทำทะเบียนราษฎร์คนต่างด้าว จากนั้นก็จะต้องมีการตรวจสุขภาพแล้วถึงจะมาขอใบอนุญาตทำงานกับกรมการจัดหา งานจะออกบัตรประชาชนคนต่างด้าวให้กับแรงงาน โดยแรงงานที่มาขึ้นทะเบียนจะสามารถทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะไม่รวมถึงครอบครัวของแรงงานต่างด้าว



นาย ไพฑูรย์ กล่าวว่า เป้าหมายที่เปิดให้จดทะเบียนรอบสุดท้ายครั้งนี้ก็เพื่อให้แรงงานที่อยู่ใต้ ดินขึ้นมาอยู่บนดิน โดยต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแต่พอมีข่าวออกไปก็มีแรงงานตามแนวชายแดนเล็ด ลอดเข้ามา ก็ขอย้ำว่าแรงงานที่เข้ามาใหม่หลังมติ ครม.วันที่ 26 พ.ค. เรื่องแนวทางการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวออกมานั้นไม่มีสิทธิ์มาขึ้นทะเบียน กับทางการ ต้องผลักดันออกนอกประเทศอย่างเดียว ทั้งนี้จะให้เจ้าของสถานประกอบการประกาศรับสมัครคนไทยมาทำงานก่อนใน 7 วัน จากนั้นหากยังขาดแรงงานอยู่จำนวนเท่าไหร่ ก็สามารถเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานได้ในจำนวนที่ขาดอยู่ อย่างไรก็ตามเวลา 10.00 น. วันเดียวกันนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงได้เรียกฝ่ายความมั่นคงมาหารือเพื่อมาตรการป้องกันแรงงาน ต่างด้าวทะลักเข้ามา


รมว.แรงงาน กล่าวว่า สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนจะได้รับบัตรอนุญาตแรงงานต่างด้าวโดย จะมีการแยกสีเพื่อแบ่งประเภทของอาชีพ 6 อาชีพ ประกอบด้วย อาชีพประมง จะได้รับบัตรสีฟ้า อาชีพเกษตรกร สีเขียว อาชีพก่อสร้าง สีเหลือง อาชีพธุรกิจต่อเนื่องประมง บัตรสีส้ม อาชีพผู้รับใช้ในบ้านสีเทา และอาชีพอื่นๆ สีชมพู ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวถือบัตรสีใดต้องประกอบอาชีพนั้นตลอดไปห้ามเปลี่ยนนายจ้างหรือ ย้ายอาชีพไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนเถื่อนทันที

ด้านนายสม ชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรง

งาน กล่าวว่า สำหรับแรงงานที่มาขึ้นทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับ ลูกจ้างที่เป็นคนไทย เช่น ระบบประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ที่ประชุม กบร.ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงานไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะใช้วิธีการใด เนื่องจากขณะนี้กองทุนประกันสังคมตามปกติรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบ 2.75 % เข้ากองทุน ซึ่งก็มีปัญหาภาระงบประมาณมากอยู่แล้ว หากต้องมาดูแลแรงงานต่างด้าวอีก 7-8 แสนคนก็อาจจะเป็นปัญหา ส่วนจะมีการตั้งกองทุนประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวต่างหากหรือไม่นั้นก็ ต้องขอศึกษาก่อน แต่ยืนยันว่าแรงงานต่างด้าวมีสิทธ์จะได้รับเงินสะสมจาก กองทุนประกันสังคมภาย หลังครบสัญญาจ้าง ซึ่งถือเป็นสิ่งดีในแง่ของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศและการลงทุน แต่จะต้องมีการศึกษารูปแบบการตั้งกองทุนจากประเทศต่างๆ ที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว



ทั้งนี้ อาชีพอื่นๆ ตามที่ประชุม กบร.เห็นชอบให้เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบผ่อนผันเพื่อให้ทำ งานกรรมกรใน 19 กิจการ ประกอบด้วย กิจการต่อเนื่องการเกษตร เช่น การแปรรูปพืชผลทางกรเกตร การรับซื้อพืชไร่พืชสวน ,กิจการต่อเนื่องปศุสัตว์ เช่น โรงฆ่าสัตว์ ,กิจการรีไซเคิล รับซื้อของเก่า ,กิจการทำเหมือนแร่และเหมืองหิน ,กิจการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโลหะ เช่น โรงกลึง โรงหล่อ โรงชุบ , กิจการผลิตจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ,กิจการผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน เช่น การทำอิฐ ผลิตเครื่องปั้นดินเผา,กิจการผลิต จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง , กิจการแปรรูปหิน ,กิจการผลิต จำหน่ายซื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนรองเท้า ,กิจการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตปุ๋ย ของเด็กเล่น , กิจการผลิจ จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ ,กิจการผลิตจำหน่ายสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ไฟฟ้า แบตเตอรี่และยานยนต์ , กิจการขนถ่ายสินค้าทางบก ทางนำและคลังสินค้า , กิจการค้าส่งค้าปลีก แผงลอยในตลาดและร้านค้าทั่วไป , กิจการอู่ซ่อมรถ , กิจการปั๊มน้ำมันและแก๊ส , กิจการสถานศึกษา มูลนิธิ สมาคมและสถานพยาบาล , กิจการให้บริการต่างๆเช่น ซักอบรีด การบริการที่พัก


สอบถามข้อมูลได้ที่

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น