วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตร 10 ปี)

เริ่มเปิดดำเนินการให้คนต่างด้าวที่ได้รับการสำรวจ เพื่อจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลและได้รับบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตร 10 ปี) ในการขอใบอนุญาตทำงานได้แล้ว ซึ่งคนต่างด้าวที่ได้รับการสำรวจเพื่อจัดทำทะเบียนประวัติบุคคล และได้รับบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การขออนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการส่งกลับและกำหนดพื้นที่ควบคุม ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 และเป็นคนต่างด้าวตามมาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง แต่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อรอการส่งกลับตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ขณะนี้ ประกาศกระทรวงมหาดไทยอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อรอการส่งกลับและอนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม เพื่อไปทำงาน คนต่างด้าวจึงสามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ จึงขอแจ้งให้คนต่างด้าวที่ถือบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน (บัตร 10 ปี) ได้รับทราบและเตรียมเอกสารหลักฐานประกอบการยื่นขอใบอนุญาตทำงาน ดังนี้
เอกสารหลักฐานของคนต่างด้าว

1. สำเนาทะเบียนประวัติ และ/หรือ บัตรประจำตัวผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน และลงลายมือชื่อ และ/หรือ ลายพิมพ์นิ้วมือ พร้อมแสดงหลักฐานตัวจริงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบ จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาหนังสืออนุญาตออกนอกเขตพื้นที่ควบคุมตามแบบที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยกำหนด ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2552 พร้อมแสดงหลักฐานตัวจริงต่อเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบ จำนวน 1 ฉบับ
3. หากไม่แสดงหลักฐานตัวจริงตามข้อ 1 และ ข้อ 2 ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่จะไม่ดำเนินการออกใบอนุญาตทำงานให้
4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
5. ใบรับรองแพทย์ที่มีอายุไม่เกิน 1 เดือน
6. หนังสือมอบอำนาจ กรณีให้บุคคลอื่นมาดำเนินการแทน

หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ หน่วยบริการย่อย (ร้านอาหารนิวช้างเผือกเดิม)
หมายเลขโทรศัพท์ 053 – 223855053 – 223855 ทุกวันเวลาราชการ
http://www.oknation.net/blog/Lottery



ระยะเวลาการอนุญาต

คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว จะพิจารณาให้ตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 1 ปี และให้มีอายุเท่าระยะเวลาที่คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรในขณะออกใบอนุญาติทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น (มาตรา 10 ) จะได้รับอนุญาติตามระยะเวลา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว ตามมาตรา 12 ซึ่งสามารถทำงานได้ 27 อาชีพ ตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี กรณีคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน ให้มีอายุสามสิบวันนับแต่วันออกใบอนุญาต

วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การให้บริการงาน ต่างด้าวมาตรา 13 (คนบนพื้นที่สูง) บัตรสีต่างๆ


การให้บริการงาน ต่างด้าวมาตรา 13 (คนบนพื้นที่สูง) บัตรสีต่างๆ

- การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแรงงานต่างด้าว (กรณียื่นทำใหม่) ต.ท.8

- การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ต.ท.5

- การยื่นคำขอเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน ต.ท.7

- การยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตทำงาน (กรณีชำรุดหรือสุญหาย) ต.ท.6

- การยื่นคำร้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบอนุญาตทำงาน


==========================================


การยื่นคำขอรับใบอนุญาตทำงานแรงงาน ต่างด้าว (กรณียื่นทำใหม่) ต.ท.8

เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่น ต.ท.8

เอกสารหลักฐานของลูกจ้าง (แรงงานต่างด้าว)


- กรอกแบบฟอร์มคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ต.ท.8 ให้เรียบร้อย
- สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, ไทยลื้อ, ไทยใหญ่, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า (พร้อมบัตรตัวจริง)
- สำเนาแบบพิมพ์ประวัติ (บุคคลบนพื้นที่สูง, ชุมชนบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, จีนฮ่ออิสระ,ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า)
- สำเนาหนังสืออนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม (อำเภอ) กรณียื่นขอทำงานนอกพื้นที่ที่ออกบัตรประจำตัว
- ใบรับรองแพทย์อายุไม่เกิน 6 เดือน
- รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งติดอากรแสดมป์ 10 บาท (กรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถดำเนินการยื่นคำขอได้)


เอกสารหลักฐานของนายจ้าง

- หนังสือรับรองการจ้างปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์, หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (อายุไม่เกินเดือน)
- เอกสารหลักฐานประกอบกิจการ เพื่อใช้ในการจ้างแรงงานต่างด้าว เช่น สัญญารับเหมาก่อสร้าง สัญญาเช่า เป็นต้น
- แผนที่ตั้งแสดงสถานที่ที่จะทำงานของแรงงานต่างด้าว


==========================================


การยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน ต.ท.5

เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่น ต.ท.5

เอกสารหลักฐานของลูกจ้าง (แรงงานต่างด้าว)

- กรอกแบบฟอร์มคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ต.ท.5 ให้เรียบร้อย
- ใบอนุญาตทำงานเดิม (บัตรตัวจริง)
- สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, ไทยลื้อ, ไทยใหญ่, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า (พร้อมบัตรตัวจริง)
- สำเนาแบบพิมพ์ประวัติ (บุคคลบนพื้นที่สูง, ชุมชนบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, จีนฮ่ออิสระ, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า)
- สำเนาหนังสืออนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม (อำเภอ) กรณียื่นขอทำงานนอกพื้นที่ที่ออกบัตรประจำตัว
- รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถมาดำเนินการยื่นคำขอได้)

เอกสารหลักฐานของนายจ้าง

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์, หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
- เอกสารหลักฐานประกอบกิจการ เพื่อใช้ในการจ้างแรงงานต่างด้าว เช่น สัญญารับเหมาก่อสร้าง สัญญาเช่า เป็นต้น



==========================================


การยื่นคำขอเพิ่มหรือ เปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงาน ต.ท.7

เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่น ต.ท.7
(*หมายเหตุสามารถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มสถานที่ทำงานได้ไม่เกิน 3 ที่*)


- กรอกแบบฟอร์มคำขอรับใบอนุญาตทำงาน ต.ท.7 ให้เรียบร้อย
- สำเนาใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว
- สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลบนพื่นที่สูง, จีนฮ่อ, ไทยลื้อ, ไทยใหญ่, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า (พร้อมบัตรตัวจริง)
- สำเนาแบบพิมพ์ประวัติ (บุคคลบนพื้นที่สูง, ชุมชนบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, จีนฮ่ออิสระ, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า)
- สำเนาหนังสืออนุญาตให้ออกนอกเขตพื้นที่ควบคุม (อำเภอ) กรณียื่นขอทำงานนอกพื้นที่ที่ออกบัตรประจำตัว
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งติดอากรแสตมป์ 10 บาท (กรณีที่ลูกจ้างไม่สามารถมาดำเนินการยื่นคำขอได้)

เอกสารหลักฐานของนายจ้าง

- หนังสือรับรองการจ้างปัจจุบัน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาหลักฐานการจดทะเบียนพาณิชย์, หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท/ห้างหุ้นส่วน (อายุไม่เกิน 6 เดือน)
- หลักฐานประกอบการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มสถานที่ที่ทำงาน เช่น สัญญารับเหมาก่อสร้าง, สัญญาเช่า
- แผนที่ตั้งแสถงสถานที่ที่จะทำงานของแรงงานต่างด้าว



==========================================


การยื่นคำขอรับใบแทน อนุญาตทำงาน (กรณีชำรุดหรือสูญหาย ) ต.ท.6

เอกสารหลักฐานที่ใช้ยื่น ต.ท.6

- กรอกแบบฟอร์ม ต.ท.6 ให้เรียบร้อย
- ใบอนุญาตทำงานเดิม (กรณีชำรุด)
- ใบบันทึกประจำวัน (ใบแจ้งความกรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย)
- สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลบนพื้นที่สูง, จีนฮ่อ, ไทยลื้อ, ไทยใหญ่, ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า (พร้อมบัตรตัวจริง)
- รูปถ่ายหน้าตรง 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป (ถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน)

==========================================

อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ของแรงงาน ต่างด้าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการทำงานของแรงงานต่างด้าว สำหรับสาขาอาชีพรับจ้างทำงาน โดยใช้กำลังกายเป็นหลักหรือรับจ้างทำงานในบ้าน (กรรมกร และผู้รับใช้ในบ้าน) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2552 เป็นต้นไป ดังนี้

(1) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน - ใบอนุญาตที่มีอายุไม่เกินสามเดือน ฉบับละ 225 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท - ใบอนุญาตที่มีอายุเกินสามเดือนแต่ไม่เกินหกเดือน ฉบับละ 450 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท - ใบอนุญาตที่มีอายุเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี ฉบับละ 900 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท - ใบอนุญาตที่มีอายุเกินหนึ่งปี ให้ชำระค่าธรรมเนียมสำหรับระยะเวลาที่เกินหนึ่งปี
เพิ่มขึ้นตามอัตรา ในข้อ 1) 2) และ 3)


(2) ค่าธรรมเนียมใบแทนใบอนุญาต (กรณีใบอนุญาตทำงานสูญหาย) ฉบับละ 200 บาท
ค่ายื่นคำขอ 100 บาท

(3) ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนลักษณะงาน ครั้งละ 900 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท

(4) ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนนายจ้าง ครั้งละ 900 บาท ค่ายื่นคำขอ 100 บาท

(5) ค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนหรือเพิ่มท้องที่หรือสถานที่ทำงาน ครั้งละ 900 บาท
ค่ายื่นคำขอ 100 บาท

วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รีบยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ด่วน..!!!!


แรงงานต่างด้าวที่ใบอนุญาตทำงานหมดอายุ
วันที่ 20 ม.ค. 53 และ 28 ก.พ. 53
รีบยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน ด่วน..!!!!




ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ วันที่ 19 มกราคม 2553 เห็นชอบ การขยายเวลาการ พิสูจน์สัญชาติ และการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวให้แก่แรงงาน ต่างด้าวหลบ หนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งใบอนุญาตทำงานหมด อายุ วันที่ 20 มกราคม 2553 และ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ได้แจ้งความประสงค์เข้า รับการพิสูจน์สัญชาติ โดยขยายเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่ว คราวเพื่อรอการส่งกลับไม่เกิน 2 ปี สิ้น สุดวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 นั้น

สำหรับแรงงาน ต่างด้าวใบอนุญาตทำงาน หมดอายุวันที่ 20 มกราคม 2553 และ วัน ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 สามารถดำเนินการขอรับใบ อนุญาตทำงานได้ ตั้งแต่บัดนี้ - วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 โดยเปิดให้บริการทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวที่ยังไม่ได้ยื่น แบบขอรับการพิสูจน์สัญชาติ สามารถยื่นได้จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เท่านั้น




การยื่นขอใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าว




การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน
ของแรงงานต่างด้าว

1.คนต่างด้าวที่ยังไม่ ได้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ให้ปฏิบัติดังนี้
1.1.ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัย อยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขออนุญาตเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON-IMMIGRANT VISA) 1.2.ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทน (แบบ ตท.3) และเมื่อได้รับแจ้งการอนุญาตแล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อรับใบอนุญาตและทำงานได้

2.คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรแล้ว คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงาน ต้องปฏิบัติดังนี้

2.1.คนต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัตปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม ต้องยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 1) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักรหรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้น ๆ โดยในระหว่างขอรับใบอนุญาตให้ผู้ยื่นคำขอทำงานไปพลางก่อนได้ ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท (มาตรา 35)

2.2.คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาใน ราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง โดยมิใช่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในฐานะนักท่องเที่ยว หรือผู้เดินทางผ่าน และไม่เป็นบุคคลที่ขาดคุณสมบัติ หรือต้องห้ามตามเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด จะทำงานได้ต่อเมื่อได้รับ ใบอนุญาตทำงานแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบ ตท. 2 (มาตรา 7, 11)ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (มาตรา 34)

คุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้าม

กำหนดโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามและเงื่อนไข ของคนต่างด้าว ซึ่งจะขอรับใบอนุญาตทำงาน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2522 มีดังนี้

1. มีความรู้และความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาต ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการอันเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง หรือกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

2. คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมืองเพื่อทำงานอันจำเป็นและเร่งด่วน มีระยะเวลาการทำงานไม่เกิน 15 วัน จะทำงานได้เมื่อได้มีหนังสือแจ้งให้อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายทราบ (มาตรา 7) งานอันจำเป็นและเร่งด่วน ออกโดยระเบียบกรมการจัดหางานว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตทำงาน ของคนต่างด้าว พ.ศ. 2537 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 จะอนุญาตให้ คนต่างด้าวทำงานในหมวดอาชีพต่าง ๆ แต่ไม่เกิน 15 วัน ดังนี้

งานบริหารงานและวิชาการ งานด้านเทคนิค งานจัดหางานต่างประเทศ งานเบ็ดเตล็ด งานที่อธิบดี หรือเจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมาย เห็นควรรับแจ้งเป็นกรณีพิเศษตามความจำเป็นในขณะนั้น

3. คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ส่วนใหญ่เป็นการขออนุญาตตามมาตรา 12 (2) คือ คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร ต้องปฏิบัติดังนี้

3.1 กรณีประสงค์จะทำงานภายในเขตจังหวัด ให้ยื่นคำขอตามแบบ ตท. 8 พร้อมบัตรอนุญาตออกโดยกระทรวงมหาดไทย

3.2 กรณีขออนุญาตออกนอกพื้นที่ คนต่างด้าวต้องยื่นขออนุญาตต่อผู้ว่าราชการจังหวัดที่ตนอยู่ เพื่ออนุญาตออกนอกเขตจังหวัด และหากจะทำงานคนต่างด้าวจะต้องขอรับใบอนุญาตทำงาน (แบบ ตท. 8) จึงจะทำงานได้

ปัจจุบันรัฐมนตรีได้ ออกประกาศกำหนดงานที่ให้คนต่างด้าวตามมาตรา 12 ทำงานได้รวม 27 อาชีพ และให้คนต่างด้าวสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้า เมือง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ ้ประกันตัวจากพนักงาน เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง ตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2543 ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2543 และอยู่ระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร จำนวน 106,684 คน ทำงานได้เฉพาะงานกรรมกร ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 ประเภทกิจการ


ยื่นขอใบอนุญาตทำงาน

___CLICK___



ประเภทแรงงานต่างด้าว และ คนต่างด้าว



ประเภทแรงงานต่างด้าว

พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 (เริ่มใช้บังคับวันที่ 22 กรกฎาคม 2521) ได้กำหนดไว้ว่า คนต่างด้าวจะทำงานได ้เมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมการจัดหางาน หรือ เจ้าพนักงานซึ่งอธิบดีมอบหมายเท่านั้น
คนต่างด้าวหมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม คนต่างด้าวที่มีสิทธิขออนุญาตทำงาน ได้ แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1.ประเภทชั่วคราว คือ คนต่างด้าวทั่วๆไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON–IMMIGRANT VISA)

2.ประเภทส่งเสริมการลงทุน คือ คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการ ส่งเสริม การลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)

3.ประเภทมาตรา 12 คือ คนต่างด้ าวตามมาตรา 12 ซึ่งมี 4 กรณี คือ

3.1 คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใดแทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ

3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวณอพยพ ลาวอพยพ เนปาลอพยพ พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543

3.3 คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัต ิ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2539 หรือตามกฎหมายอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้

3.4 คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

4. ประเภทตลอดชีพ หมายถึง คนต่างด้าวผู้ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 322 ข้อ 10 (1) มีสาระสำคัญว่าใบอนุญาตที่ออกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราช อาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองและทำงานอยู่แล้วก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ให้ใช้ได้ตลอดชีวิตของคนต่างด้าวนั้น เว้นแต่คนต่างด้าวจะเปลี่ยนอาชีพใหม่



ประเภทคนต่างด้าว

1.คนต่างด้าวทั่วๆ ไป (ตามมาตรา 7) หมายถึง คนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว (NON -IMMIGRANT VISA) เช่น เข้ามาทำธุรกิจหรือเข้ามาศึกษา

2.คนต่างด้าวที่ได้ รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือตามกฎหมายอื่นที่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคนต่างด้าวในลักษณะเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรม (ตามมาตรา 10)

3.คนต่างด้าวตามมาตรา 12
หมายถึง คนต่างด้าว 4 ประเภท คือ

3.1 คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศตามกฎหมายว่าด้วยการเนรเทศ ซึ่งได้รับการผ่อนผันให้ไปประกอบอาชีพ ณ ที่แห่งใด แทนการเนรเทศหรืออยู่ในระหว่างรอการเนรเทศ

3.2 คนต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และอยู่ในระหว่างรอการส่งกลับออกนอกราชอาณาจักร เช่น พวกญวณอพยพ, ลาวอพยพ, เนปาลอพยพ, พม่าพลัดถิ่น หรือคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2539 เป็นต้นไป

3.3 คนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักร แต่ไม่ได้รับสัญชาติไทย ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 หรือตามกำหนดอื่น เช่น บุคคลที่เกิดภายหลังวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ซึ่งเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว มีผลบังคับใช้

3.4 คนต่างด้าวโดยผลของการถูกถอนสัญชาติ ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 337 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว


ความหมาย

คนต่างด้าว หมายถึง บุคคลธรรมดาซึ่งไม่มีสัญชาติไทย

ทำงาน หมายถึง การทำงานโดยใช้กำลังกายหรือความรู้ด้วยประสงค์ค่าจ้าง หรือประโยชน์อื่นใดหรือไม่ก็ตาม



คนต่างด้าวที่ยังไม่เข้ามาในราชอาณาจักร แต่ประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้

1. ติดต่อสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยประจำประเทศที่คนต่างด้าวอาศัยอยู่ เพื่อขอคำแนะนำและขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ในหนังสือเดินทางเท่านั้น

2. ให้นายจ้างในราชอาณาจักรยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานแทนเมื่อได้รับแจ้งอนุญาต แล้ว คนต่างด้าวจึงเดินทางเข้ามารับใบอนุญาตและทำงานได้

คนต่างด้าว ที่เข้ามาในราชอาณาจักรแล้วประสงค์จะทำงานต้องปฏิบัติดังนี้

1. ต่างด้าวที่จะขออนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนหรือตาม กฎหมายอื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาต ทำงาน ภาย ใน 30 วัน นับแต่วันที่เข้ามาในราชอาณาจักร หรือ 30 วัน นับแต่วันที่ทราบการได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายนั้นๆ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

2. คนต่างด้าวไม่ว่าจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือคนต่างด้าวที่เข้ามาในราช อาณาจักรประเภทคนอยู่ชั่วคราว จะทำงานได้ต่อเมื่อ ได้รับใบอนุญาตแล้วเท่านั้น โดยยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานตามแบบที่กฎหมายกำหนด
(ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือ ปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)

3. คนต่างด้าวฝ่าฝืนการทำงาน ซึ่งห้ามโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522 มีโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


คุณสมบัติของคนต่างด้าวที่จะขอใบอนุญาตทำงานได้

1.มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็น การชั่วคราว
ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (มิใช่นักท่องเที่ยวหรือผู้เดินทางผ่าน)

2. ต้องไม่ขอทำงานที่ห้ามไว้ในพระราชกฤษฎีกา (39 อาชีพ)

3. มีความรู้ความสามารถในการทำงานตามที่ขอรับใบอนุญาตทำงาน

4. ต้องไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ

5. ต้องไม่เป็นผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรือน วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฎอาการเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม โรคยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง โรคพิษสุราเรื้อรัง

6.ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือตาม กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าว ภายในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต


คนต่างด้าวที่มีใบอนุญาตทำงานแล้วต้องปฏิบัติ ดังนี้

1. มีใบอนุญาตติดตัวไว้หรือมีอยู่ ณ ที่ทำงานในระหว่างทำงานเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)

2. ต้องทำงานตามที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น หากประสงค์จะทำงานอื่น หรือเปลี่ยนท้องที่หรือสถานที่ในการทำงาน ต้องได้รับอนุญาตก่อน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ)

3. คนต่างด้าวที่ได้รับการขยายระยะเวลาการทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน หรือกฎหมายอื่น ต้องแจ้งภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการขยายระยะเวลา (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษ ปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)

4. ก่อนใบอนุญาตทำงานสิ้นอายุ และประสงค์จะทำงานต่อต้องยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตก่อนจึงจะทำงานได้ (ผู้ฝ่าฝืนทำงานเมื่อใบอนุญาตสิ้นอายุแล้ว มีโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน หรือประบไม่เกินห้าพันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ)

5. กรณีใบอนุญาตชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นขอใบแทนใบอนุญาตภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบ (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท)

6. กรณีเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุล สัญชาติ ที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว หรือชื่อสถานที่ทำงาน ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขโดยไม่ชักช้า

7. เมื่อเลิกทำงานต้องคืนใบอนุญาตทำงานภายใน 7 วัน นับแต่วันเลิกทำงาน (ผู้ฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท)


รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ """คลิก"""

แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ




รัฐเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบสุดท้าย



มชัดลึก : รัฐบาลเปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบ สุดท้าย แต่ม ีข้อแม้ต้องรับคนไทยเข้าทำงานก่อน ใจดีเตรียมตั้งกองทุน ประกันสังคมแรงงานต่างด้าว อ้างเพื่อความเชื่อมั่นประเทศ


(2มิ.ย.) นายไพฑูรย์ แก้วทอง รมว.แรงงาน แถลงผลการประชุมคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนี้เข้าเมือง (กบร.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวรอบใหม่ และคิดว่าจะเป็นรอบสุดท้ายสำหรับสัญชาติลาว กัมพูชา และพม่า โดยแบ่งเป็นแรงงานที่เคยขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวแล้ว 4-5 แสนคน และแรงงานใต้ดินที่ยังไม่เคยจดทะเบียนคาดว่าจะมีประมาณ 3-4 แสนคน โดยขั้นตอนตอนหลังจากนี้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ กระทรวงมหาดไทยต้องออกประกาศผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวอยู่ในประเทศได้จนถึง วันที่ 28 ก.พ. 53 หลังจากนั้นนายจ้างจะต้องนำแรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนกับกรมการปกครอง เพื่อให้กรมการปกครองจัดทำทะเบียนราษฎร์คนต่างด้าว จากนั้นก็จะต้องมีการตรวจสุขภาพแล้วถึงจะมาขอใบอนุญาตทำงานกับกรมการจัดหา งานจะออกบัตรประชาชนคนต่างด้าวให้กับแรงงาน โดยแรงงานที่มาขึ้นทะเบียนจะสามารถทำงานอยู่ในประเทศไทยได้ 2 ปี และต่ออายุได้อีก 2 ปี ทั้งนี้การขึ้นทะเบียนดังกล่าวจะไม่รวมถึงครอบครัวของแรงงานต่างด้าว



นาย ไพฑูรย์ กล่าวว่า เป้าหมายที่เปิดให้จดทะเบียนรอบสุดท้ายครั้งนี้ก็เพื่อให้แรงงานที่อยู่ใต้ ดินขึ้นมาอยู่บนดิน โดยต้องดำเนินการพิสูจน์สัญชาติแต่พอมีข่าวออกไปก็มีแรงงานตามแนวชายแดนเล็ด ลอดเข้ามา ก็ขอย้ำว่าแรงงานที่เข้ามาใหม่หลังมติ ครม.วันที่ 26 พ.ค. เรื่องแนวทางการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวออกมานั้นไม่มีสิทธิ์มาขึ้นทะเบียน กับทางการ ต้องผลักดันออกนอกประเทศอย่างเดียว ทั้งนี้จะให้เจ้าของสถานประกอบการประกาศรับสมัครคนไทยมาทำงานก่อนใน 7 วัน จากนั้นหากยังขาดแรงงานอยู่จำนวนเท่าไหร่ ก็สามารถเปิดรับแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานได้ในจำนวนที่ขาดอยู่ อย่างไรก็ตามเวลา 10.00 น. วันเดียวกันนี้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ ฝ่ายความมั่นคงได้เรียกฝ่ายความมั่นคงมาหารือเพื่อมาตรการป้องกันแรงงาน ต่างด้าวทะลักเข้ามา


รมว.แรงงาน กล่าวว่า สำหรับแรงงานต่างด้าวที่มาขึ้นทะเบียนจะได้รับบัตรอนุญาตแรงงานต่างด้าวโดย จะมีการแยกสีเพื่อแบ่งประเภทของอาชีพ 6 อาชีพ ประกอบด้วย อาชีพประมง จะได้รับบัตรสีฟ้า อาชีพเกษตรกร สีเขียว อาชีพก่อสร้าง สีเหลือง อาชีพธุรกิจต่อเนื่องประมง บัตรสีส้ม อาชีพผู้รับใช้ในบ้านสีเทา และอาชีพอื่นๆ สีชมพู ทั้งนี้ แรงงานต่างด้าวถือบัตรสีใดต้องประกอบอาชีพนั้นตลอดไปห้ามเปลี่ยนนายจ้างหรือ ย้ายอาชีพไม่ได้ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นคนเถื่อนทันที

ด้านนายสม ชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรง

งาน กล่าวว่า สำหรับแรงงานที่มาขึ้นทะเบียนจะได้รับสิทธิประโยชน์ขั้นพื้นฐานเช่นเดียวกับ ลูกจ้างที่เป็นคนไทย เช่น ระบบประกันสุขภาพ และระบบประกันสังคม ที่ประชุม กบร.ได้มอบหมายให้กระทรวงแรงานไปศึกษาเพิ่มเติมว่าจะใช้วิธีการใด เนื่องจากขณะนี้กองทุนประกันสังคมตามปกติรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบ 2.75 % เข้ากองทุน ซึ่งก็มีปัญหาภาระงบประมาณมากอยู่แล้ว หากต้องมาดูแลแรงงานต่างด้าวอีก 7-8 แสนคนก็อาจจะเป็นปัญหา ส่วนจะมีการตั้งกองทุนประกันสังคมของแรงงานต่างด้าวต่างหากหรือไม่นั้นก็ ต้องขอศึกษาก่อน แต่ยืนยันว่าแรงงานต่างด้าวมีสิทธ์จะได้รับเงินสะสมจาก กองทุนประกันสังคมภาย หลังครบสัญญาจ้าง ซึ่งถือเป็นสิ่งดีในแง่ของการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศและการลงทุน แต่จะต้องมีการศึกษารูปแบบการตั้งกองทุนจากประเทศต่างๆ ที่มีการจ้างแรงงานต่างด้าว



ทั้งนี้ อาชีพอื่นๆ ตามที่ประชุม กบร.เห็นชอบให้เปิดจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวที่อยู่นอกระบบผ่อนผันเพื่อให้ทำ งานกรรมกรใน 19 กิจการ ประกอบด้วย กิจการต่อเนื่องการเกษตร เช่น การแปรรูปพืชผลทางกรเกตร การรับซื้อพืชไร่พืชสวน ,กิจการต่อเนื่องปศุสัตว์ เช่น โรงฆ่าสัตว์ ,กิจการรีไซเคิล รับซื้อของเก่า ,กิจการทำเหมือนแร่และเหมืองหิน ,กิจการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับโลหะ เช่น โรงกลึง โรงหล่อ โรงชุบ , กิจการผลิตจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ,กิจการผลิตจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากดิน เช่น การทำอิฐ ผลิตเครื่องปั้นดินเผา,กิจการผลิต จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง , กิจการแปรรูปหิน ,กิจการผลิต จำหน่ายซื้อผ้าสำเร็จรูปและเครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เครื่องประดับ ชิ้นส่วนรองเท้า ,กิจการผลิต จำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตปุ๋ย ของเด็กเล่น , กิจการผลิจ จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษ ,กิจการผลิตจำหน่ายสินค้าอิเลคทรอนิคส์ ไฟฟ้า แบตเตอรี่และยานยนต์ , กิจการขนถ่ายสินค้าทางบก ทางนำและคลังสินค้า , กิจการค้าส่งค้าปลีก แผงลอยในตลาดและร้านค้าทั่วไป , กิจการอู่ซ่อมรถ , กิจการปั๊มน้ำมันและแก๊ส , กิจการสถานศึกษา มูลนิธิ สมาคมและสถานพยาบาล , กิจการให้บริการต่างๆเช่น ซักอบรีด การบริการที่พัก


สอบถามข้อมูลได้ที่

สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน